เราเจอคลิปนึงบน Science Insider เล่าว่าทำไม #ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี เรานั่งฟังจนจบแล้วหาข้อมูลต่อ พบว่ามีคนพูดเรื่องนี้กันเยอะมาก เราเลยสรุปเรื่องในคลิปให้เพื่อนๆอ่านกันง่ายๆในโพสต์นี้ ใครฟังภาษาปะกิดออก และอยากดูคลิปเต็มลิงค์อยู่ด้านล่างบทความ ใครไม่อยากดู ก็อ่านข้างล่างได้เลยนะ เราสรุปมาให้แล้ว 😊
การงดอาหารระหว่างมื้อดีต่อร่างกายยังไง?
คนส่วนใหญ่กินอาหารอย่างต่อเนื่องในช่วง 8 ชั่วโมง และมีเวลาที่ร่างกายว่างจากกการกินประมาณ 16 ชั่วโมง แล้วใน 16 ชั่วโมงนั้น ในร่างกายเราเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ตอนที่คุณกิน ร่างกายเราเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน ในรูปของไกลโคเจน แล้วเก็บไว้ในตับ แต่หลังจาก 10-12 ชั่วโมง ที่เราไม่ได้กินอะไรเลย ปริมาณไกลโคเจน เริ่มลดต่ำลงอย่างมาก ซึ่งในระหว่างนี้ร่างกายคุณจะทุรนทุราย
นักวิทยาศาสตร์เรียกอาการนี้ว่าอาหาร “โหย”
แต่ข้อดีของมันก็คือ เซลล์ไขมันในร่างกายคุณ จะเริ่มปล่อยไขมันออกมาในกระแสเลือด แล้วไหลไปจนถึงตับ ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนไขมันเหล่านี้ไปเป็นพลังงาน ส่งพลังงานให้สมองและร่างกาย ซึ่งเท่ากับว่าเผาผลาญไขมันเพื่อให้ร่างกายทำงานต่อได้
ผลการตรวจเลือดพบว่า คนที่มีทิ้งช่วงการกินอาหารระหว่างมื้อซัก 12-24 ชม. ร่างกายจะมีการใช้พลังงานจากไขมันเพิ่มขึ้นจากปกติถึง 60% ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดหลังจากที่งดอาหารมาแล้ว 18 ชั่วโมง
และนั่นคือข้อดีของการงดอาหาร เพราะมันทำให้ร่างกายเราอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า คิโตซิส (Kitosis) ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำตาลและเอาไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน [2]
และนี่คือเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าคนเราจะมีอายุยืนขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น ในระหว่างช่วงนี้ ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนตัวนึงชื่อว่า คีโตน (Ketones) เจ้าคีโตนเป็นตัวสำคัญที่ไปกระตุ้นสมองให้ปล่อย สารอีกตัวที่ชื่อ BDNF และเจ้า BDNF นี่หล่ะทำให้เซลล์สมองคุณแข็งแรง กระปรี้กระเปล่าขึ้น สมองคุณทำงานได้ดีขึ้น การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทดีขึ้น นั่นยิ่งเป็นตัวชี้ชัดว่า ในช่วงเวลาที่สมองเรามีคีโตนเพิ่มขึ้น ช่วงนั้นสมองเราจะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในแง่การรักษาโรคอีกหลายอย่างเลย
แต่เราไม่จำเป็นต้องงดอาหาร เพื่อเพิ่มปริมาณคีโตนนะ
มีคนลองกินอาหารที่มีไขมันเยอะ แต่ลดแป้งและนำ้ตาล อย่างต่อเนื่อง 3 เดือน ก็ได้ผลใกล้เคียงกับการงดอาหารระหว่างมื้อ ไม่เพียงแค่น้ำหนักลด แต่พบกว่าลดความดันอีกด้วย แถมด้วยลดฮอร์โมนที่ทำให้แก่ เรียกได้ว่า กินน้อยแก่ช้า อีกต่างหาก
แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่า การเปลี่ยนอาหารทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้น 4 เท่า แต่การงดอาหารไปเลย จะทำให้คีโตนเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพมากๆ
สำหรับคนที่กินวันละ 3 มื้อ ร่างกายก็เลยไม่เคยอยู่ในสภาวะคีโตซิส จึงไม่มีปริมาณคีโตนเพียงพอที่ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น
มิน่าหล่ะ แอดทำงานเยอะ เพื่อหาเงินเยอะ จะได้มีกินเยอะๆ แต่ทำไมความเจ็บป่วยมันเยอะตามมา การอยู่ดีกินดีเกินไปก็ไม่ดีแบบนี้นี่เอง
อ่านเรื่องนี้แล้ว เราคิดถึง 1 เดือนของการถือศีลอด ของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมอาจจะรู้เรื่องนี้มาแต่ไหนแต่ไร แม้ไม่ได้พิสูจน์โดยวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น พวกเค้าอดอาหาร ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ยันพระอาทิตย์ตก เป็นเวลา 1 เดือน ต่อปี [4] ด้วยเหตุผลหลายอย่าง แต่เราเชื่อแน่ว่า สุขภาพที่ดีขึ้นเป็นหนึ่งในสาเหตุนั้น
แล้วเราก็คิดถึงหนังสือเล่มนึง ชื่อ ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี ของ Yoshinori Nagumo (โยะชิโนะริ นะงุโมะ) ที่รีวิวไว้โดยอาจารย์วรากรณ์ ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ [3]
คุณหมอป่วยหนักตอนอายุ 30 ปี (แม้แต่หมอยังป่วย) คุณหมอเลยเปลี่ยนแนวชีวิต มากินแค่วันละมื้อเดียวคุณหมอเลือกกินมื้อเย็นอย่างเดียว
สาเหตุที่เลือกมื้อเย็น ก็น่ารักมากกกกกกกกก ในเมื่อเราจะกินแค่วันละมื้อเท่านั้น เราก็อยากจะกินมื้อนั้นกับคนที่เรารักที่สุด คุณหมอเลือกกินข้าวมื้อเย็น เพราะได้กินกับคุณแม่ ฝีมือแม่ทุกเย็นเลย
วิ่งไปด้วยกัน แข็งแรงไปด้วยกัน อยู่รักกันไปนานๆ
อ้างอิง
ลิงค์คลิป https://goo.gl/YJ9b3R
✅ [1] Science Insider
The amazing changes intermittent fasting does to your body and brain.
https://www.facebook.com/BusinessInsiderScience/videos/1402091716566167/
✅ [2] Ketosis: What is ketosis?
https://www.medicalnewstoday.com/articles/180858.php
✅ [3] ยิ่งหิว | ยิ่งสุขภาพดี
ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/629608
✅ [4] From Ramadan to the 5:2, the surprising science of fasting
https://www.newstatesman.com/…/ramadan-52-surprising-scienc…